วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

Lecture8: Data Management 12/01/2011

           Data Management

ระบบสารสนเทศ ( Information System)  คือ  ระบบที่สร้างสารสนเทศ หรือ ระบบที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาประมวลผล วิเคราะห์ เพื่อสร้างสารสนเทศสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน และนำเสนอสารสนเทศให้กับผู้ต้องการ ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับสารสนเทศ รวมทั้งจัดเก็บบันทึกข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบเพื่อไว้ใช้งานในอนาคต
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ เทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เพื่อทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และนำไปใช้งานได้
ระบบ (System) ประกอบด้วย
-          วัตถุประสงค์ (Objective)
-          ส่วนประกอบ (Element)
-          กระบวนการทำงาน แบ่งออกเป็น สิ่งที่นำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output)
-          สิ่งแวดล้อม (Environment)
-          ขอบเขต
-          การควบคุม (Control)  และผลย้อนกลับ (Feedback)
-          ระบบย่อย (Subsystem)
ความแตกต่างของ Data & Information
                Data คือ ข้อมูลที่ยังไม่ผ่านกระบวนการ (Input) ขณะที่  Information คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว (Output)
อย่างไรก็ตามบางครั้งข้อความเดียวกันอาจเป็นได้ทั้ง Data และ Information ขึ้นอยู่กับว่าผู้รับสารคือใคร ถ้าผู้รับสารเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือได้รับประโยชน์จากข้อความหรือสารนั้น จะถือว่าเป็น  Information ขณะเดียวกันถ้าผู้รับสารไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ได้รับผลประโยชน์จากข้อความหรือสารนั้น ก็จะถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นเพียง Data   

องค์ประกอบของสารสนเทศ
1.       Hardware
2.       Software
3.       Data
4.       Network
5.       People
6.       Procedure
7.       Application
*** คอมพิวเตอร์เป็นเพียงแค่เครื่องมือช่วยในการประมวลผลและจัดเก็บสารสนเทศ

ตัวอย่างของสารสนเทศ

>> Facebook  ไม่ใช่สารสนเทศ
>> Google   ก้ำกึ่ง แต่น่าจะเป็น IT มากกว่า IS เนื่องจาก งานหลักของ Google ซึ่งคือ Search Engin นั้น ไม่จัดเป็นสารสนเทศ แต่อย่างไรก็ตามมีงานอื่นๆของ Google ซึ่งอาจจัดเป็นสารสนเทศได้
>> Amazon  เป็นสารสนเทศ เนื่องจาก การสั่งซื้อสินค้า (Input) จัดการเพื่อการส่งสินค้า(Process) ส่งสินค้า(Output)

        Data Management
                การบริหารข้อมูลมีความยากลำบาก เนื่องจาก  ข้อมูลมีจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วทั้งองค์กร ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Redundant)  ดังนั้น จะต้องมีการสร้างและเก็บรวบรวมอย่างมีระบบ นอกจากนั้นยังมีการใช้ข้อมูลจากภายนอกด้วย ทำให้เกิดความยุ่งยาก อย่างไรก็ตาม การจัดการข้อมูลนั้นต้องมีการจัดการและควบคุมเพื่อให้ข้อมูลมีทั้ง security quality และ integrity เป็นต้น  แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

1.เก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จากที่มาต่างๆ
2. จัดเก็บข้อมูลลงใน Database และจัดรูปแบบของข้อมูล (Format) ที่เหมาะสมไว้สำหรับเก็บไว้ใน    Data warehouse
3. ผู้ใช้งานนำข้อมูลจาก Data warehouse  เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ
4. นำข้อมูลไปวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่  Data analysis tools และ Data mining tools

        Data Life Cycle Process
1.  เก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จากที่มาต่างๆ
2.  จัดเก็บข้อมูลลงใน Database และจัดรูปแบบของข้อมูล (Format) ที่เหมาะสมไว้สำหรับเก็บไว้ใน Data Warehouse
3.   ผู้ใช้งานนำข้อมูลจาก Data Warehouse เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ
4.   นำข้อมูลไปวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ Data Analysis tools และ Data mining tools


       Data Processing

    1.   Transactional 
    2.   Analytical

          Data warehouse 
        Data warehouse ไม่ใช่ Database ขนาดใหญ่ แต่จะเป็นการ Extract ข้อมูลเฉพาะส่วนที่ต้องการจาก Database เพื่อนำมาใช้ในการ Analytical ทำให้ในการวิเคราะห์นั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องดึงข้อมูลจาก Database เพราะอาจทำให้ส่งผลต่อ Transaction Process  ซึ่งองค์กรที่ควรจะมี Data warehouse ต้องเป็นองค์กรที่ผู้บริหารจำเป็นต้องตัดสินใจโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูล
 
   คุณสมบัติของ Data warehouse
   1.Organization  จัดหมวดหมู่ข้อมูลใหม่โดยใช้ subject
     2. Consistency  จะทำให้ข้อมูลที่เข้ามาคนละช่วงเวลาเกิดความสม่ำเสมอ
     3. Time variant  ใช้ข้อมูลช่วงของเวลาไม่ใช่จุดของเวลา
     4. Non-volatile data  ข้อมูลที่ใช้มาจากอดีตดังนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว ดังนั้นจะไม่มีการ update ข้อมูล แต่จะใช้   การ refresh คือการเพิ่มข้อมูลใหม่
     5. Relational
     6. Client/server ทำงานบน Client/server

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น