วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

E-Business & E-Commerce

E-Commerce หรือ E-Business เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี Internet กับการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยสามารถนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าหรือบริการผ่านทาง Internet สู่คนทั่วโลกภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้การดำเนินการซื้อขายอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น บางครั้งอาจเรียกว่า ธุรกิจดอทคอม
                    ประเภทของ E-Commerce  
      1 ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เนต
     2 ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภท ที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เนต
     3 ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
     4 รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
     5 ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์

                    ตัวอย่างดอทคอมที่ได้รับความนิยม
·  Dell  เป็นบริษัทที่พัฒนาการขายคอมพิวเตอร์ไปยังระบบออนไลน์ หรือ E-Commerce ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทและทำให้ลูกค้ามีความสะดวกสบายมากขึ้นในการซื้อสินค้า
·  E-Bay  เว็บไซต์ซื้อขายสินค้าทั่วๆไปจากทั่วโลก  นอกจากนั้นยังมีการประมูลสินค้าผ่านทางเว็บไซต์อีกด้วย
· Amazon  เว็บไซต์ซื้อขายสินค้า โดยจะเน้นไปที่การซื้อขายหนังสือ โดยแนวคิดหลักของ Amazon คือ แนวคิด Long Tail  หรือก็คือ การให้สินค้าที่ไม่ได้เป็นที่นิยม ได้มีพื้นที่ในการวางขายด้วย ถือเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจาก ร้านปกติจะมีพื้นที่จำกัดในการวางขายสินค้า ทำให้ไม่สามารถวางขายหนังสือที่ไม่ได้รับความนิยม แต่บนเว็บไซต์ของ Amazon จะลดข้อจำกัดดังกล่าวนี้
>> Click & Mortar VS Brick & Mortar คือ ธุรกิจที่มีทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์ VS ธุรกิจที่มีเพียงระบบออฟไลน์เท่านั้น หรือก็คือ ธุรกิจทั่วไปที่พบเห็นกันนั่นเอง 

E-Commerce Business Model
·  Affiliate Marketing  คือ การทำการตลาดผ่านทางผู้แทนโฆษณา โดยทางบริษัทจะจ่ายเงิน
ค่าตอบแทนให้กับผู้แทนโฆษณาก็ต่อเมื่อ ผู้แทนโฆษณาเหล่านั้นได้แนะนำคนเข้ามายังเว็บไซต์
ของบริษัท และคนคนนั้นได้ทำธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทางบริษัทกำหนดไว้ เช่น ซื้อสินค้า
หรือ สมัครสมาชิก เป็นต้น
·  Bartering  Online การแลกเปลี่ยนสินค้า โดยการนำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆผ่านระบบอินเตอร์เนต เช่น www. Craigslist.com
· Deep Discounter  การนำสินค้ามาลดราคาผ่านเว็บไซต์ ซึ่งอาจจะเป็นสินค้าที่ตกรุ่น แล้วนำมาลดราคา เช่น  Half.com  
· Group Purchasing  การรวมตัวกันเพื่อซื้อสินค้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถซื้อสินค้าได้ราคาถูกลง เช่น รพ รวมตัวกันแล้วซื้อยาจำนวนมากๆ เป็นต้น
· Online Auction  หรือ E-Auction เป็นกระบวนการประมูลซื้อขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เพื่อจัดการระบบการประมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มขีดความสามารถในการจัดหาและจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ เช่น E-Bay , U-Bid.com  สำหรับ B2B Auction ที่ได้รับความนิยม เช่น  tarad.com  
· E-Classified เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายโดยตรง ในการประกาศซื้อขายสินค้า ซึ่งอาจจะมีสินค้าไม่กี่ชนิดเฉพาเจาะจงเป็นการประกาศซื้อขายระหว่างลูกค้าและลูกค้ากันเอง เช่น  classifieds 2000.com
· G-Government เป็นการทำพาณิชย์อิเลคโทรนิคสำหรับรัฐ เช่น การจ่ายภาษีออนไลน์  หรือ E-Auction การประมูลงานของรัฐออนไลน์ เพื่อเพิ่มความโปร่งใส
· Virtual Marketing  การทำการตลาดเสมือนจริงบนเว็บไซต์
Benefit of E-commerce
1.การซื้อขายสินค้าแบบ Online สามารถตัดปัญหายุ่งยากในเรื่องของการต่อรองราคาและตัดปัญหาเกี่ยวกับนายหน้า เพราะมีเพียงแค่รหัสบัตรเครดิตที่เปิดบัญชีกับธนาคาร ท่านก็สามารถซื้อสินค้าผ่าน Internet ได้
2.ข้อมูลของลูกค้าจะถูกเก็บไว้ใน E-Mail บุคคลอื่นไม่สามารถเปิดอ่านได้นอกจากผู้จัดจำหน่ายเท่านั้น
3.เพิ่มมูลค่าและปริมาณทางการค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ ลดต้นทุน และเปิดโอกาสให้ผู้ขายขนาดกลางและขนาดเล็ก มีโอกาสเข้าสู่ตลาดได้มากขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีทางเลือกมากขึ้นด้วย
4.ผู้ซื้อสามารถค้นหาข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงร้านค้า หรือผ่านพ่อค้าคนกลาง
5ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการกับผู้ซื้อรายอื่น หรือมีโอกาสสัมผัสกับสินค้าหรือบริการก่อนการตัดสินใจซื้อ เช่น ฟังตัวอย่างเพลง อ่านเรื่องย่อของหนังสือ หรือชมบางส่วนของ VDO ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ทำให้ผู้ซื้อมีข้อมูลในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น ในกรณีที่เป็นการสั่งซื้อแบบ Digital Form จะสามารถส่งข้อมูลผ่าน Internet ได้ทันที
6.ผู้ขายสามารถโฆษณาขายสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณา การจัดตั้งร้านค้า การจัดตกแต่งสถานที่ ค่าใช้จ่ายการจัดเก็บสินค้า การกระจายสินค้า และยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆได้อีกด้วย
 
                      Limitation of  E-Commerce
1.ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ขาดการตรวจสอบการใช้บัตรเครดิตบน Internet ข้อมูลบนบัตรเครดิตอาจถูกดักฟังหรืออ่าน เพื่อเอาชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้โดยที่เจ้าของบัตรเครดิตไม่รู้ได้ การส่งข้อมูลจึงต้องมรการพัฒนาวิธีการเข้ารหัสที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน เพื่อให้ข้อมูลของลูกค้าได้รับความปลอดภัยสูงสุด
2.ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ที่จะทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยง สำหรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการชำระเงินยังต้องผ่านธนาคารที่เป็นของต่างประเทศ
3.ปัญหาความยากจน ความด้อยโอกาสและขาดความรู้ทางเทคโนโลยี รวมทั้งขาดเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบเคเบิล ระบบโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง จึงทำให้ชนบทที่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงและใช้บริการ Internet ได้
4. E-Commerce ยังมีประเด็นเชิงนโยบายที่ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามากำหนดมาตรการ เพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ซื้อและผู้ขาย ขณะเดียวกันมาตรการมนเรื่องระเบียบที่จะกำหนดขึ้นต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี
5.ผู้ซื้อไม่มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาความลับทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคลเช่น ไม่มั่นใจว่าจะมีผู้นำหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบหรือไม่
6.ผู้ขายไม่มั่นใจว่าลูกค้ามีตัวตนอยู่จริง จะเป็นบุคคลเดี่ยวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ มีความสามารถในการที่จะจ่ายสินค้าและบริการหรือไม่ และไม่มั่นใจว่าการทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบ Internet จะมีผลถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
7.ด้านรัฐบาล ในกรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายอยู่คนละประเทศกันจะใช้กฎหมายของประเทศใดเป็นหลัก หากมีการกระทำผิดกฎหมายในการการกระทำการซื้อขายลักษณะนี้ ความยากลำบากในการติดตามการซื้อขายทาง Internet อาจทำให้รัฐบาลประสบปัญหาในการเรียกเก็บภาษีเงินได้และภาษีศุลกากร การที่ E-Commerce ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภค และการปฏิบัติงานของภาครัฐบาล ทำให้รัฐบาลอาจเข้ามากำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ขายที่ใช้บริการ E-Commerce รวมทั้งให้ความสนใจในการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาปัจจัยที่จะเพิ่มความสะดวกทางด้านโทรคมนาคมสื่อสาร
8.ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำสำเนาหรือดัดแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ง่ายกว่าเอกสารที่เป็นกระดาษ จึงต้องจัดการระบบการรักษาความปลอดภัยในการอ้างสิทธิให้ดีพอ
9. E-Commerce ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการจัดการทางธุรกิจที่ดีด้วย การนำระบบนี้มาใช้จึงไม่สมควรทำตามกระแสนิยม เพราะถ้าลงทุนไปแล้วไม่สามารถให้บริการที่ดีกับลูกค้าได้ ย่อมเกิดผลเสียต่อบริษัท
10.ปัญหาที่เกิดกับงานด้านกฎหมายและลายเซ็น ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะกำกับดูแลการทำนิติกรรม การทำการซื้อขายผ่านทางการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Social Commerce
                คือ เครือข่ายสังคมค้าขายออนไลน์ เป็นส่วนหนึ่งของระบบระบบ E-Commerce  โดยมีการนำสื่อสังคมออนไลน์ และสื่อออนไลน์ต่างๆ มาช่วยในการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้หรือผู้ซื้อเพื่อช่วยในการขายสินค้าออนไลน์ต่างๆ โดยผ่านช่องทางเว็บไซต์ เช่น การบอกต่อสินค้าผ่านทาง Facebook เป็นต้น
                ตัวอย่าง E-Commerce ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย เช่น We love shopping
>> Wiki เว็บไซต์ที่ให้เอาข้อมูลไปแชร์กันบนเว็บไซต์ เช่น วิกิลีกส์
                Electronic Storefront  VS Electronic Mall
· Electronic Storefront  ใช้สำหรับนำเสนอเพื่อขายสินค้าและบริการภายในเว็บไซต์ของตนเองเท่านั้น  ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ General Storefront และ Specialized Storefront  
· Electronic Mall คือ เว็บไซต์กลางที่รวบรวมเว็บไซต์ต่างๆ เข้าไว้ในที่เดียวกัน เปรียบเหมือนได้กับห้างสรรพสินค้าที่รวบรวมร้านค้าต่างๆ ไว้ในที่เดียวกัน เช่น Shopping Headquarter.com

Present IT Hype Cycle
Ø Health Informatics คือ การนำข้อมูลที่เกี่ยวกับทางด้านสุขภาพมาผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากร, เครื่องใช้ต่างๆ และนำมาพัฒนาปรับปรุงวิธีการได้มา, การเก็บรักษาและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกี่ยวสุขภาพ
Ø Web 2.0 มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ
1. "network as platform" คือจะต้องให้บริการหรือสามารถใช้งานผ่านทาง "web browser" ได้ 
2.  ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของข้อมูลบน "website" นั้น สามารถดำเนินการใดๆ ก็ได้กับข้อมูลนั้น  
3.  ให้ความสำคัญกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะมีส่วนร่วมต่อเว็บไซต์มากขึ้น ไม่ใช่แค่เข้ามาชมเว็บไซต์ที่เจ้าของเว็บจัดทำขึ้นเท่านั้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถสร้าง content ของเว็บไซต์ขึ้นมาได้เองหรือสามารถ tag content ของเว็บไซต์ (คล้ายๆการกำหนด keyword ที่เกี่ยวข้องกับ content โดยผู้เข้าชมเว็บไซต์เป็นผู้กำหนดขึ้น) ตัวอย่างเช่น Digg, Flickr, Youtube , Wiki 
4.  Web 2.0 application จะมีคุณสมบัติที่เรียกว่า RIA (Rich Internet Application) นั่นคือ Web 2.0 application จะมี user interface ที่ดียิ่งขึ้น เช่น คุณสมบัติ drag & drop ซึ่งเราใช้กับใน desktop application ทั่วๆไปก็สามารถใช้ได้บนเว็บเช่นกัน โดยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการสร้าง RIA เช่น AJAX, Flash
5. มีการพัฒนาและการโต้ตอบระหว่างผู้ให้บริการ และผู้ใช้งาน แทนที่จากระบบเว็บแบบเก่า ที่เป็นลักษณะของการให้บริการอ่านอย่างเดียว
6.มีความรวดเร็ว และความง่ายดายของการส่งข้อมูล แทนที่แบบเก่าที่ต้องจัดการผ่านเซิร์ฟเวอร์  
7.มีคุณสมบัติที่เรียกว่า mash-up คือการนำฟังก์ชั่นการใช้งานจากเว็บหลายๆที่ๆมาผนวกเข้าด้วยกัน  
                >> Web 1.0 การผลิตเนื้อหาต่างๆจะมาจากเจ้าของเว็บไซต์เท่านั้น ผู้ต้องการข้อมูลก็เข้าไปอ่านจากเว็บไซต์หรือค้นหาผ่าน search engine เป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้เองทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้อ่านกับเจ้าของเว็บไซต์หรือ ผู้พัฒนาเนื้อหาเป็นไปในลักษณะทางเดียว ไม่สามารถโต้ตอบหรือแสดงความคิดเห็นได้
                >> Web 3.0  คล้ายกับ web 2.0 แต่จะเน้นไปที่การจัดการข้อมูลในเว็บให้ดีขึ้น และทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเขัาถึงเนื้องหาของเว็บได้ดีขึ้นนั้นเอง
Ø Cloud Computing  คือ การที่ทำให้เข้าถึงระบบเครือข่ายตามที่ต้องการได้อย่างสะดวก (On Demand Network Access)
1. Cloud Software as a service (SaaS)  ผู้ใช้งานจะสามารถเรียกใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องติดตั้ง และผู้ให้บริการ SaaS นั้นสามารถเรียกเก็บค่าบริการได้ตามจำนวนครั้งที่ใช้งานหรือตามโปรโมชั่นได้
2.  Platform as a service (PaaS)
                3.    Infrastructure as a service (LaaS)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น