วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Lecture 11: Strategic Information System Planning (2/2/2554)

            Business Intelligence (ต่อ)
Web Mining  ถือเป็น Text Mining รูปแบบหนึ่งซึ่งใช้งานบน Website เป็นการช่วยเพิ่มความสามารถให้ Website เช่น แนะนำ Link ที่เกี่ยวข้อง หรือแนะนำ New Product  โดยอาศัยการเก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานใน Server แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
·         Web Content Mining  ดูจากเนื้อหาในเว็บที่ลูกค้าใช้บ่อย
·         Web Structure Mining ดูจากโครงสร้าง เช่น สังเกตจากการเข้าใช้เว็บไซต์ว่ามักจะเรียกใช้งานโดยตรง หรือใช้ผ่านมาจากเว็บไซต์อื่น
·         Web Usage Mining ดูจากจำนวนผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์และระยะเวลาที่ใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้รู้พฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของลูกค้าได้

          Strategic Information System Planning
                การเลือกใช้ระบบสารสนเทศภายในองค์กร ควรมีการวางแผนที่ดี โดยอาจใช้ IS/IT Planning ซึ่งเป็นการวางแผนระบบสารสนเทศเบื้องต้น โดยจะพิจารณาว่าควรมี Infrastructure และ Application  เมื่อใด อย่างไรบ้าง ที่จะเหมาะสมกับการใช้งานในองค์กร ซึ่งมีขั้นตอนการวางแผน 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.       Strategic Planning  เป็นการกำหนดกลยุทธ์ โดยดูจากความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ขององค์กรและระบบสารสนเทศจะที่ใช้เพื่อบรรลุกลยุทธ์ดังกล่าว สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนย่อยๆ ได้ดังนี้
·        Set IS mission   กำหนด Mission ขององค์กรว่าจะใช้ ITเป็นกลยุทธ์หลักหรือเป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนกลยุทธ์หลักเท่านั้น
·        Access environment ประเมินความสามารถปัจจุบันของระบบ  โอกาส สภาพแวดล้อมและ เทคโนโลยีใหม่ เป็นต้น  
·        Access organizational objectives strategies ทบทวนแผนกลยุทธ์ขององค์กรในว่าเหมาะสมแล้วหรือไม่
·        Set IS policies, objectives, strategies  ดูว่าองค์กรนั้นให้ความสำคัญกับระบบสารสนเทศเพียงใด โดยพิจารณาโครงสร้างขององค์กรว่า IS นั้นอยู่ในตำแหน่งใดของโครงสร้างองค์กร หาก IS นั้นมีระดับที่เล็กเท่าไหร่ย่อมแสดงให้เห็นว่า สำหรับองค์กร IS เป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ ทำให้การใช้ IS เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กรยิ่งยากขึ้น

2.       Organizational Information Requirements analysis เป็นการกำหนดระบบสารสนเทศที่ต้องใช้ในการดำเนินกลยุทธ์
·        Access organization’s information requirements ประเมินความต้องการของระบบสารสนเทศในปัจจุบันและในอนาคตขององค์กร
·        Assemble master development plan จัดลำดับความสำคัญของการได้มาของระบบสารสนเทศดังกล่าว โดยต้องมีการคำนึงถึงความพร้อมของเงินทุน บุคลากรและเทคโนโลยี

3.       Resource Allocation Planning
·        Develop resource requirements plan ประเมินทรัพยากรทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ บุคลากรที่จะต้องใช้ทั้งหมด
4.       Project  Planning
·        Evaluate project and develop project plans ประเมินความคุ้มค่าของโครงการ รวมทั้งจัดการให้องค์กรมีการปฎิบัติตามแผนที่วางไว้
                The Business Systems Planning (BSP)
การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดขององค์กร ผ่านการวิเคราะห์ Business Processes (Across Functional) ว่าแต่ละกระบวนการนั้นมีการเกิดหรือใช้ Data Classes อะไรบ้าง ซึ่งช่วยสะท้อนระบบการทำงานขององค์กรรวมทั้งการไหลของข้อมูลภายในขององค์กรได้ชัดเจนขึ้น ทำให้ข้อมูลนั้นยังคงอยู่แม้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร โดย BSP นั้นมีขั้นตอนดังนี้
1.       Gaining Commitment
2.       Defining Business Process
3.       Defining Data Classes
4.       Analyzing Current Systems Support
5.       Determining the executive expectation
6.       Defining Findings and Conclusions
7.       Defining Info Architecture
8.       Determining Architecture Priorities
9.       Developing recommendations and Action Plan
            ข้อดี คือ  เห็นภาพการทำงาน มีขั้นตอนที่ชัดเจน เหมาะกับองค์กรที่ไม่เคยมีการวางแผนมาก่อน
           ข้อเสีย คือ  ใช้เวลาและข้อมูลจำนวนมาก
          

          Critical Success Factors (CSF)
                เป็นการเตรียมและพัฒนาระบบ  เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริหารระดับสูง โดยจะเน้นที่ไปยังประเด็นที่มีความสำคัญต่อการอยู่รอดหรือประสบความสำเร็จขององค์กร ซึ่งมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
                1.    Aggregate and Analyze Individual CSFs
2.   Develop Agreement on Company CSFs
                         3.  Define Company CSFs
                         4.  Define DSS and Database
                         5.  Develop IS Priorities

ข้อดี  คือ ข้อมูลน้อยกว่าโมเดล BSP รวมถึงให้ความสำคัญการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมด้วย
ข้อเสีย คือ  ต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำแผนด้วย (เป็น Art forms) และเป็นการยากต่อที่จะแยกแยะความคิดเห็นว่าเป็นจากในสถานะผู้บริหาร หรือ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น