วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Lecture 12 : CRM & KM (8/2/2554)

Customer Relationship Management & Knowledge Management System 
การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management)    เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ จะช่วยให้เกิดการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น  เนื่องจากจำนวนคู่แข่งของธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก  การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด  
                ในปัจจุบันระบบ CRM เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการดำเนินธุรกิจที่นำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ ดังนั้นการดูแลระบบให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายสารสนเทศ หรือผู้ออกแบบและผู้จัดทำเว็บไซต์ขององค์กร 
เป้าหมายของ CRM  ไม่ได้เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป
ประโยชน์ของ CRM
1.       มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer  Behavior
2.       วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3.       ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4.        เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5.       ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ 
ซอฟต์แวร์บริหารลูกค้าสัมพันธ์
  1. ระบบการขายอัตโนมัติ (Sale Force automation: SFA) ประกอบด้วย
    - ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
    -
    ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ Cross-Saleing
    -
    ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น
2.       ระบบบริการลูกค้า (Customer Service: Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR) ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
3.       ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Marketing) ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สนับสนุนการรณรงค์การทำตลาดโดยตรง
      การขายในระดับเดียวกัน (Cross selling) – ลูกค้าบัตร credit ได้สิทธิพิเศษมากยิ่งขึ้น
      การขายแบบชุด (Bundling) – การขายรวมสินค้าหลายๆอย่าง
Data Warehouse   และเครื่องมือจัดการข้อมูล เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดของ CRM ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร ข้อมูลภายในมีที่มาจาก 2 แหล่ง คือ
1) มาจากระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นงาน Routine ที่มาจากระบบ Billing ลูกหนี้ ทะเบียนลูกค้า Call Center และข้อมูลเก่าดั้งเดิมที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูล
2) ข้อมูลภายนอกได้แก่ Web Telephone Directory เป็นต้น
Classification of CRM Applications
·        Customer Facing จุดที่ต้องมีการติดต่อกับลูกค้า ซึ่งสำคัญมากเพราะเป็นการสร้างความประทับใจแก่ลูกค้า เช่น Call centers, help desks
·        Customer-touching จุดที่ต้องสัมผัสกับลูกค้า เช่น  ลูกค้าสอบถามปัญหาทางอินเตอร์เนตต้องมีหน่วยรองรับคำถามของลูกค้า
·        Customer-centric intelligence  วิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า   
·        Online networking  สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทาง social network

Knowledge Management System  (KMS)
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ตัวบุคคล เอกสาร สื่อ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดการพัฒนาตนเอง และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร
ประโยชน์ของการบริหารความรู้
       เข้าถึงแหล่งความรู้ในองค์กรได้ง่าย พนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ และสามารถต่อยอดความรู้ได้
       ลดจำนวนการทำผิดซ้ำ
       ความรู้ไม่สูญหายจากองค์กร
       ยกระดับความสามารถขององค์กรให้เหนือคู่แข่ง
 ตัวอย่างคณะพาณิชยศาสตร์ เช่น จัดทำเป็นฐานข้อมูลสำหรับเจ้าหน้าที่ เพื่อที่ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถแก้ปัญหาได้ เช่น  หากเจ้าหน้าที่ที่รู้เรื่องการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เสีย  ไมค์เสีย ลาออกไป หรือไม่อยู่ พนักงานใหม่คนอื่นๆจะสามารถทราบวิธีแก้ปัญหา และสถานที่จัดเก็บสิ่งของต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียเวลา อีกทั้งเจ้าหน้าที่ใหม่จะไม่ต้องเริ่มต้นงานจากศูนย์อีกครั้ง
สร้าง KM ได้อย่างไร?
       สร้าง knowledge Base ขององกรค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว (learn faster) ต่อยอดความรู้ที่มีอยู่มุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมและองกรค์ความรู้ใหม่ในการปฏิบัติงานเพิ่ม value ให้ธุรกิจ
       สร้าง knowledge network สำหรับพนักงานทุกคน สามารถ Access and Share ความรู้ได้อย่างทั่วถึง
เช่น ใช้เฟสบุคขององค์กร เพื่อที่จะหาโซเชียลเน็ตเวิก ให้แบ่งปันความรู้กันในองคกร
ลำดับขั้นตอนของความรู้
ข้อมูล              สารสนเทศ          ความรู้              ความชำนาญ             ความสามารถ
การสร้างความรู้
1.       Socialization จะต้องมีการเข้าสังคม เพื่อที่จะรู้ว่าพนักงานแต่ละคนมีความสามารถด้านใดบ้าง ทั้งความรู้ฝังลึกและความรู้ชัดแจ้ง  นอกจากนี้ยังต้องหาความรู้จากภายนอกองค์กรด้วย
2.       External
** ความรู้ฝังลึก (Tacit)  เป็นความถนัดของแต่ละบุคคล อธิบายยากว่าเก่งด้านใด อย่างไร
** ความรู้ชัดแจ้ง  (Explicit)  ความรู้ที่สามารถบอกหรือเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเก่ง  
 เราต้องพยายามเปลี่ยนแปลงจากความรู้ฝังลึกให้เป็นความรู้ชัดแจ้ง  คือ ต้องพยายามนำความรู้ที่มีของแต่ละบุคคลสร้างให้เป็นลายลักษณ์อักษร  อธิบายความรู้ที่มี เพื่อจะได้เป็นแหล่งความรู้ให้องค์กร  แต่มักเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจาก หาความรู้จากแต่ละบุคคลได้ค่อนข้างยาก นำมาอธิบายและสร้างเป็นลายลักษณ์อักษรค่อนข้างยาก อีกทั้งคนเก่งไม่อยากจะให้คนอื่นเก่งด้วย จึงเก็บความรู้ไว้กับตัว ทำให้นำออกมาแบ่งปันองค์กรได้ยาก  
3.       Combination   นำความรู้ที่รวบรวมได้ทั้งหมดจากทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาสร้างเป็นองค์ความรู้ ด้วยการจัดหมวดหมู่ และให้คนอื่นสามารถใช้งานได้
4.       Internalization  นำองค์ความรู้ที่รวบรวม จัดหมวดหมู่ไว้ ให้คนในองค์กรศึกษา เพื่อสร้างให้เกิดองค์ความรู้แก่คนในองค์กร จากนั้นก็เริ่มต้นสู่กระบวนการอีกครั้งไปเรื่อยๆ

กระบวนการจัดการความรู้
       การระบุถึงความรู้ (Knowledge Identification)
       การจัดหาความรู้ (Knowledge Acquisition)
       การพัฒนาความรู้ (Knowledge Development)
       การแบ่งปัน/กระจายความรู้  (Knowledge Sharing/Distribution)
       การใช้ความรู้ (Knowledge Utilization)
       การเก็บ/จดความรู้ (Knowledge Retention)
IT  HYPE CYCLE
เทคโนโลยี 3G
จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในที่ใดๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็มใน เครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน
Internet TV
                เป็นการรับชมภาพและเสียงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มายังหน้าจอโทรทัศน์ของผู้รับชมผ่านทางกล่อง STB (Set-Top-Box) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะติดตั้งอยู่ที่บ้านของผู้รับชม กล่องนี้จะทำหน้าที่รับสัญญาณข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและแปลงสัญญาณข้อมูลนี้ให้อยู่ในลักษณะภาพและเสียงก่อนที่จะนำเข้าสู่หน้าจอแสดงผล โดยการเลือกรับชมรายการด้วย Internet TV นั้นสามารถเลือกรับชมได้ 2 ลักษณะคือ
·         การรับชมแบบสด หรือ live broadcasts เป็นการรับชมรายการแบบถ่ายทอดสดผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยรายการที่รับชมนั้นจะเป็นรายการเดียวกับที่ทางสถานีโทรทัศน์นั้นๆ ฉายอยู่ ทำให้ไม่สามารถที่จะหยุด บันทึก หรือเลือกรับชมเฉพาะบางส่วนของรายการได้
·         การรับชมแบบตามสั่ง หรือ on-demand videos เป็นการรับชมรายการที่ผู้ชมสามารถเลือกรับชมรายการต่างๆ ได้ตามความต้องการ ในลักษณะเดียวกับการเลือกฟังเพลงต่างๆ จาก playlist ของตนเอง โดยผู้รับชมสามารถเลือกช่อง รายการ ช่วงเวลา รวมไปถึงส่วนของรายการที่ต้องการจะรับชมได้ตามต้องการ สามารถหยุด และบันทึกรายการเหล่านี้ได้
IT Outsource
ประเภทของ IT Outsource
1.       Desktop Service
2.       Network management/ Networking& Connectivity Service
3.       Web Hosting
4.       Data Centers Services
5.       Continuity Services
6.       Application Management Services

WiKi
คือ ลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่ง ที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น